ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน
โรงเรียนโรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว (วัดเก้าเลี้ยว) ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 1 ตำบล  เก้าเลี้ยว   อำเภอ  เก้าเลี้ยว  จังหวัด  นครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์  60230   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1 จัดการศึกษา 2 ระดับคือ ระดับก่อนประถมศึกษา และระดับประถมศึกษามีนักเรียนในความรับผิดชอบ 251 คน มีข้าราชการครู 13 คน  ครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ 1 คน ครูธุรการ 1 คน และนักการภารโรง 1  คน มีภารกิจในการจัดการศึกษาให้นักเรียนในความรับผิดชอบ ให้บรรลุตามมาตรฐานการศึกษา และสนองนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 1
บุคลากรของโรงเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดการศึกษาให้บรรลุภารกิจและเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย  โดยเฉพาะภารกิจต่อกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ให้สมกับประวัติความเป็นมาของโรงเรียนที่ได้ก่อตั้งมาเป็นระยะเวลายาวนาน ดังนี้
  1.1  ชื่อสถานศึกษา  โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว (วัดเก้าเลี้ยว)  ตั้งที่ 55/2 หมู่  1   ถนน -    ตำบลเก้าเลี้ยว  อำเภอเก้าเลี้ยว  จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ 60230 โทรศัพท์ และโทรสาร 0-5629-9232    1.2  เปิดสอนตั้งแต่ระดับ ปฐมวัย (อนุบาล 1) ถึงระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่  6  1.3  มีเขตพื้นที่บริการ 3 หมู่บ้าน ได้แก่  หมู่ 1 หมู่  3  และหมู่ 5 ตำบลเก้าเลี้ยวอำเภอเก้าเลี้ยว มีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีเนื้อที่ 256.7 ตารางกิโลเมตร จำนวนประชากร34,933  คน  มีแม่น้ำปิงไหลผ่าน และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 7  ตัดผ่าน  พื้นที่ติดต่อกับอำเภออื่น ๆ ดังนี้
ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  อำเภอบรรพตพิสัย และอำเภอโพทะเล (จังหวัดพิจิตร ทิศใต้         ติดต่อกับ  อำเภอเมืองนครสวรรค์                                                    ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ  อำเภอชุมแสง                                              ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ  อำเภอบรรพตพิสัย
โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2466 ได้อาศัยศาลาการเปรียญวัดเก้าเลี้ยวเป็นสถานศึกษาเล่าเรียน  ประชาชนตำบลเก้าเลี้ยวเป็นผู้ร้องขอจัดตั้งขึ้น  มีนายหวล  ยาติคะปะมา  ปลัดอำเภอบรรพตพิสัย  เป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนี้  พร้อมด้วยนายลอย  อาจหาญ  ศึกษาธิการอำเภอบรรพตพิสัย  ขุนกิจ  เก้าเลี้ยว  กำนันตำบลเก้าเลี้ยวและพระอธิการขาวเจ้าอาวาสวัดเก้าเลี้ยว  มีนายเพชร  บำรุงศรี  เป็นครูใหญ่
โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว ดำรงอยู่ด้วยเงินศึกษาพลี  ต่อมาเงินศึกษาพลีเลิกเก็บจากประชาชน  พระมหาประชาปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้สละเงินส่วนพระองค์ให้โรงเรียนต่างๆ ดำรงต่อไป และต่อมาโรงเรียนประชาบาลได้รับเงินงบประมาณจากกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ  จัดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  วันที่จัดตั้งมีนักเรียนชายจำนวน  56 คน มีนักเรียนหญิง 31 คน รวมทั้งสิ้น 87 คน
พ.ศ.2506  โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยวได้สร้างอาคารเรียนบนเนื้อที่ซึ่งทางวัดเก้าเลี้ยวได้แบ่งไว้ให้จำนวน 6 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา  โดยสร้างเป็นอาคารเอกเทศถาวร  แบบ 003 ของกรมสามัญ  กระทรวงศึกษาธิการ  ได้งบประมาณ  96,000  บาท  เงินประชาชนสมทบทุน 102,500  บาท  รวมเป็นเงินค่าก่อสร้างทั้งสิ้น  198,500 บาท ทำพิธีเปิดป้ายอาคารเรียนวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2506 นายสุนทร  หงษ์ลัดดารมณ์  ปลัดจังหวัดนครสวรรค์เป็นประธาน นายพิทักษ์  โพธีรศักดิ์  ศึกษาธิการอำเภอบรรพตพิสัย  นายศักดิ์  วิบูลย์สมัย  นายอำเภอบรรพตพิสัยมาร่วมเป็นกรรมการพ.ศ.2509โรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยวได้โอนไปสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์พ.ศ.2514  ได้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ004  ของกรมสามัญ  กระทรวงศึกษาธิการ ได้งบประมาณ 350,000 บาทและเงินประชาชนสมทบ 20,000 บาท  รวมค่าก่อสร้างทั้งสิ้น 370,000  บาท  และในปีเดียวกันทางราชการได้อนุมัติให้เปิดทำการสอนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ( ป.1 - ป.7 )  เริ่มทำการสอนวัน26 เมษายน 2514   ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  มีนักเรียนชาย 30 คน  นักเรียนหญิง  14  คน รวมมีนักเรียนทั้งหมด  44  คนพ.ศ.2517  ได้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง แบบ 030 ของกรมสามัญ  ได้เงินงบประมาณ  239,000  บาทพ.ศ.2519 ได้งบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  ก่อสร้างโรงอาหาร  1  หลัง  ได้เงินงบประมาณ 75,000  บาทพ.ศ.2520  ได้เงินงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ก่อสร้างอาคารเรียน 1 หลัง  แบบ 017 ของกรมสามัญศึกษา  ได้เงินงบประมาณ  500,000  บาท  สร้างเป็นอาคารชั้นเดียว 5 ห้องเรียนพ.ศ.2523 ได้เงินงบประมาณ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ต่อเติมอาคารเรียนชั้นล่าง  อาคาร 4 แบบ 017 จำนวน 5  ห้องเรียน  ได้เงินงบประมาณ 400,000 บาทพ.ศ.2523 วันที่  1 ตุลาคม  2523  โรงเรียนประชาบาลที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้โอนไปสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2529  ได้รับเงินงบประมาณจากคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ  สร้างเรือนเพาะชำ  สปช. แบบ พ. 1  เป็นเงิน  15,000 บาท  สร้างเสร็จเมื่อวันที่  25  สิงหาคม  2529 (ปัจจุบันจำหน่ายแล้ว)พ.ศ.2530 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ สร้างสนามวอลเล่ย์บอล  เป็นเงิน 65,000 บาท  สร้างเสร็จเมื่อวันที่  25  สิงหาคม 2530 และโรงเรียนได้รับมอบวิหารพระพุทธรูปทรงไทย  จากคณะกรรมการ  อปต.เก้าเลี้ยว  ซึ่งสร้างด้วยเงินบริจาค จากชาวสมุทรปราการและชาวบ้านเก้าเลี้ยว  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระชนมายุครบ 5 รอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่  24  ตุลาคม พ.ศ. 2530 เป็นเงิน 97,952 . 50 บาทพ.ศ.2530 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสร้างส้วม แบบ 603/29 ของ สปช. จำนวน 6 ที่นั่ง  เป็นเงิน  92,730  บาท  สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 26 มกราคม  2531พ.ศ.2531  ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก   ซึ่งทางโรงเรียนได้รับอนุมัติให้เปิดสอนชั้นเด็กเล็ก   ซึ่งทางโรงเรียนได้เปิดรับนักเรียนก่อนเกณฑ์บังคับ จำนวน 35  คน  เพื่อเตรียมความพร้อม ปี พ.ศ.2532  ได้รับงบประมาณจากคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสร้างส้วม  สปช. แบบ 602/26 จำนวน 6 ที่นั่ง  เป็นเงิน  75,000 บาท  เสร็จและรับมอบเมื่อวันที่  30 ตุลาคม  2532พ.ศ. 2532 ได้โอนไปสังกัด คณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2536  ทางโรงเรียนได้รับอนุมัติเปิดทำการสอนชั้นอนุบาลปีที่ 1 ซึ่งทางโรงเรียนเปิดรับนักเรียนจำนวน  36  คน  เพื่อเตรียมความพร้อมให้เด็ก    พ.ศ. 2539  โรงเรียนได้ห้องปฏิบัติการทางภาษาจำนวน  20 ที่  ในโครงการปฏิรูปการศึกษาพ.ศ. 2540  โรงเรียนได้ห้องคอมพิวเตอร์  จำนวน  6 เครื่อง  ในโครงการปฏิรูปการศึกษา และได้ห้องวิทยาศาสตร์ พร้อมอุปกรณ์ครุภัณฑ์  ในโครงการปฏิรูปการศึกษาพ.ศ.2542 ทางโรงเรียนได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์แบบ สปช. 206/26  ด้วยเงินงบประมาณ  2,547,369  บาท  และก่อสร้างส้วมแบบสปช. 601/26 จำนวน 4 ที่นั่ง  เงินงบประมาณ  111,000  บาทพ.ศ.2544  ได้รับการแต่งตั้งเป็นโรงเรียน อนุบาลประจำอำเภอ  เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนวัดเก้าเลี้ยว (ประชานุสรณ์) เป็นโรงเรียนอนุบาลเก้าเลี้ยว(วัดเก้าเลี้ยว)  ได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนสหวิทยาการคอมพิวเตอร์พ.ศ. 2547  ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  เปลี่ยนจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ สังกัดสพท.นว. เขต 1พ.ศ. 2548 ได้รับการคัดเลือก  แต่งตั้งเป็นโรงเรียนแกนนำปฐมวัยระดับอำเภอพ.ศ. 2549 ได้รับการคัดเลือกแต่งตั้งเป็นศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบประจำอำเภอเก้าเลี้ยว  และ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นศูนย์เครือข่ายด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (ศูนย์ Eric) ประจำอำเภอเก้าเลี้ยวพ.ศ. 2550  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน) ระดับประถมศึกษาจาก  สพท.นว. เขต 1 และได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครั้งที่ 2  หน่วยการประเมิน  เคมบริดจ์  เอ็ดยูเคชั่น  เมื่อวันที่ 11-13  ธันวาคม 2550 ได้รับรองมาตรฐานการศึกษา จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) สมศ .พ.ศ. 2551  ได้รับจัดสรรคอมพิวเตอร์ Server จำนวน 1  ชุด  คอมพิวเตอร์ ครูจำนวน 1 ชุด คอมพิวเตอร์นักเรียน  จำนวน  10 ชุด  จากงบประมาณโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)พ.ศ. 2552  ได้รับจัดสรรคอมพิวเตอร์  คอมพิวเตอร์ ครูจำนวน  1 ชุด  คอมพิวเตอร์นักเรียน  จำนวน  10 ชุด  จาก โครงการ SP2 งบประมาณโรงเรียนในฝัน(โรงเรียนดีใกล้บ้าน)พ.ศ.2554 ได้รับเงินงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สร้างส้วม แบบ สพฐ. 4 จำนวน 4 ที่นั่ง  เป็นเงิน  352,000  บาท 
พ.ศ 2566 โรงเรียนได้รับมอบหลังคาคลุมลานอเนกประสงค์ มีพื้น ค.ส.ล  ขนาด 20*40 เมตร จากท่านพระครูนิวิชสังฆกิจ (จเร หาสจิตโต พ.ช.บ. น.บ. ,ก.ศ.ม.) เจ้าอาวาสวัดเก้าเลี้ยว เจ้าคณะอำเภอเก้าเลี้ยว พร้อมด้วยไวยาวัจกร คณะกรรมการวัดเก้าเลี้ยว และคณะศรัทธาพุทธบริษัทบ้านเก้าเลี้ยวใช้งบประมาณในการก่อสร้างอาคารโดมอเนกประสงค์พื้นที่ ค.ส.ล. เวทีและซุ้มพระ รวมทั้งสิ้น 3,752 ,928 บาท โดยส่งมอบและฉลองในวันเสาร์ที่ 23 เดือนกันยายน พ.ศ. 2566